วัณโรคในเด็กคืออะไร

วัณโรคในเด็กคืออะไร

วัณโรค (TB) คือการติดเชื้อ (เรื้อรัง) ที่เกิดจากแบคทีเรีย การติดเชื้อมักเกิดขึ้นในปอด แต่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ไตกระดูกสันหลัง หรือสมองก็อาจได้รับผลกระทบด้วย วัณโรคมักแพร่ระบาดทางอากาศผ่านละอองที่มาจากการหายใจ หรือไอ เด็กสามารถติดเชื้อแบคทีเรียวัณโรค และไม่มีอาการของโรค

ระยะของวัณโรคมีดังนี้:

ระยะสัมผัสเชื้อ กรณีที่เด็กสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรค แต่เด็กยังไม่มีอาการติดเชื้อ หรือผลการตรวจเลือด และเอกซเรย์ทรวงอกปกติ ไม่พบอาการใด ๆ

ระยะติดเชื้อวัณโรคแฝง เมื่อเด็กมีแบคทีเรียวัณโรคอยู่ในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการ ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กทำให้แเชื้อบคทีเรียวัณโรคไม่ทำงาน สำหรับคนส่วนมากที่ติดเชื้อวัณโรคแบบแฝงตัวจะมีเชื้อไปตลอดชีวิต โดยเด็กได้รับผลการตรวจเชื้อวัณโรคเป็นบวก แต่ผลการเอกซเรย์ทรวงอกจะเป็นปกติ และไม่มีอาการของวัณโรค และเด็ก ๆ จะไม่สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้

โรควัณโรคแสดงอาการ เมื่อเด็กมีอาการของโรค และผลการตรวจเชื้อวัณโรคเป็นบวกหรือลบ และผลการทดสอบร่างกายแสดงว่าเป็นวัณโรคที่ปอด หรือที่อื่น ๆ ของร่างกาย เด็ก ๆ สามารถแพร่กระจายโรคได้ หากยังมีภาวะติดเชื้อในปอด และไม่ได้รับการรักษา

สาเหตุของวัณโรคในเด็กคืออะไร

วัณโรคเกิดจากแบคทีเรีย ส่วนมากคือเชื้อ Mycobacterium tuberculosis (M. tuberculosis) เด็ก ๆ ที่ติดเชื้อ M. tuberculosis หลายคนไม่แสดงอาการของวัณโรค และอยู่ในระยะแฝงของวัณโรค

เด็กที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค

เด็กทุกคนสามารถเป็นวัณโรคได้ หากสัมผัสเชื้อ แต่ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น เมื่อ:

●     อยู่ใกล้ผู้ที่เป็นวัณโรค

●     ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง

●     มาจากประเทศที่พบผู้ป่วยวัณโรคบ่อย ๆ

●     มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเป็นโรคเบาหวาน เอดส์ หรือใช้ยาที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

เด็กเล็กมีแนวโน้มที่จะเป็นวัณโรคจากแพร่กระจายของเชื้อผ่านทางเลือดได้มากกว่าเด็กโต และเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการของวัณโรคในเด็กเป็นอย่างไร

อาการอาจแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน และขึ้นกับอายุของเด็กด้วย โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของวัณโรคในเด็ก ได้แก่ :

●     ไข้

●     น้ำหนักลด

●     การเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์

●     ไอ

●     ต่อมในร่างกายบวม (บางคนอาจมีของเหลวออกมาทางผิวหนัง)

●     หนาวสั่น

อาการที่พบบ่อยที่สุดของวัณโรคในเด็กโต ได้แก่ :

●     ไอติดต่อกันนานกว่า 3 สัปดาห์

●     ปวดที่หน้าอก

●     มีเลือดปนในเสมหะ

●     อ่อนแรง

●     เหนื่อยง่าย

●     ต่อมในร่างกายบวม (บางคนอาจมีของเหลวออกมาทางผิวหนัง)

●     น้ำหนักลด

●     ไม่อยากอาหาร

●     ไข้ขึ้น

●     เหงื่อออกมากตอนกลางคืน

●     หนาวสั่น

อาการของวัณโรคอาจเหมือนกับปัญหาสุขภาพอื่น ๆ จึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การวินิจฉัยวัณโรคในเด็ก

แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการ และประวัติสุขภาพของเด็ก พวกเขาอาจซักถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของครอบครัว แพทย์จะให้เด็กเข้ารับการตรวจร่างกาย

วิธีวินิจฉัยวัณโรคคือการตรวจบริเวณผิวหนัง หรือการตรวจเลือด การทดสอบทางผิวหนังจะใช้การฉีดสารทดสอบจำนวนเล็กน้อยเข้าไปในผิวหนังชั้นบนสุด หากเกิดก้อนเนื้อขึ้นภายใน 2 หรือ 3 วัน แสดงว่าผลเป็นบวก การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อวัณโรค จะใช้เลือดเพียงเล็กน้อยจากแขนหรือมือของเด็ก ใช้เวลา 2 – 3 วันจึงจะได้ผลการทดสอบ

●     เด็ก ๆ อาจต้องได้รับการเอ็กซเรย์ทรวงอก ตรวจเสมหะ หรือการตรวจชิ้นเนื้อของต่อมหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ

●     แนะนำให้ทำการตรวจวัณโรคที่ผิวหนังหรือเลือดสำหรับเด็กที่:

●     เสี่ยงได้รับเชื้อวัณโรคในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

●     ผลการเอกซเรย์เหมือนอาการของวัณโรค

●     มีอาการของวัณโรค

●     มาจากประเทศที่พบผู้ป่วยวัณโรคบ่อย ๆ

●     ควรตรวจวัณโรคทางผิวหนังหรือเลือดทุกปีกับเด็กที่:

●     มีเชื้อเอชไอวี

●     อยู่ในศูนย์เลี้ยงดู

●     เด็กที่สัมผัสกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับการทดสอบทุก ๆ 2 ถึง 3 ปี

วัณโรคในเด็กรักษาอย่างไร

การรักษาอาจรวมถึงการนอนโรงพยาบาลระยะสั้นเพื่อรับการรักษาด้วยยา

สำหรับวัณโรคระยะแฝงมีตัวเลือกยาหลายขนาด กรณีเด็กอายุมากกว่า 2 ปีควรรับประทานยาสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 12 สัปดาห์ หรือรับประทานยาทุกวันนานเป็นเดือน

สำหรับวัณโรคที่แสดงอาการ เด็กควรได้รับยา 2 – 4 ชนิดเป็นเวลา 6 เดือนขึ้นไป

โดยปกติวัณโรคในเด็กจะมีอาการดีขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ เมื่อเริ่มทำการรักษา หลังการรักษาด้วยยาไป 2 สัปดาห์ เด็กมักไม่เป็นพาหะของโรค แต่การรักษาต้องดำเนินไปจนกว่าจะครบกำหนด สิ่งสำคัญคือเด็ก ๆ ต้องรับประทานยาตรงตามเวลาให้ครบ

ปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาถึงความเสี่ยง ประโยชน์ และผลข้างเคียงของยาให้ละเอียด

วิธีป้องกันวัณโรคในเด็ก

วัณโรคสามารถป้องกันได้โดยการลดความเสี่ยงของเด็กในการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ

วัณโรคที่แสดงอาการสามารถป้องกันได้ ด้วยการวินิจฉัยและรักษาวัณโรคระยะแฝงให้หาย

ควรพาเด็กเข้าพบปพทย์ เมื่อมีอาการดังนี้

●     อาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

●     เกิดอาการขึ้นมา

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวัณโรคในเด็ก

วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นได้นาน (การติดเชื้อเรื้อรัง) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดการติดเชื้อในปอด แต่อวัยวะอื่น ๆ เช่นไต กระดูกสันหลัง หรือสมองอาจได้รับผลกระทบ

เด็กสามารถติดเชื้อแบคทีเรียวัณโรค โดยไม่แสดงอาการ

อาการที่พบบ่อยที่สุดของวัณโรค ได้แก่ ไข้ ไอ น้ำหนักลด และหนาวสั่น

วัณโรคได้รับการวินิจฉัยด้วยการตรวจวัณโรคทางผิวหนังหรือตรวจเลือด เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจสอบเสมหะ และรวมถึงการทดสอบหรือตรวจชิ้นเนื้ออื่น ๆ

การรักษาวัณโรคต้องใช้ยาเป็นนานประมาณ 2 – 3 เดือน ระยะเวลาและจำนวนยาขึ้นกับระยะของวัณโรค และปัจจัยด้านสุขภาพ การรักษาวัณโรคที่แสดงอาการอาจรวมถึงการนอนโรงพยาบาลช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อรับการรักษาด้วยยา

 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.webmd.com/lung/understanding-tuberculosis-basics

●     https://www.cdc.gov/tb/topic/basics/default.htm

●     https://www.nhs.uk/conditions/tuberculosis-tb/

About the Author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may also like these