วิธีรักษาวัณโรคแฝงจะรักษาอย่างไร

วิธีรักษาวัณโรคแฝงจะรักษาอย่างไร

หากผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค แต่ไม่มีแสดง ก็ยังจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา วิธีรักษาวัณโรคจะเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจก่อให้เกิดปัญหาเมื่อถูกกระตุ้นให้ทำงาน การรักษาป้องกันที่พบได้บ่อยที่สุดคือการให้ยาปฏิชีวนะ isoniazid (INH) ทุกวัน วันละเม็ด นาน 6 – 9 เดือน ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคจะไม่ใช่พาหะนำโรคอีกต่อไป

วัณโรคที่แสดงอาการรักษาอย่างไร

หากผู้ป่วยมีอาการของโรควัณโรค ผู้ป่วยอาจรับการรักษาด้วยยาต้านเชื้อแบคทีเรียร่วมกันเป็นเวลา 6 – 12 เดือน ยารักษาวัณโรคที่แสดงอาการโดยทั่วไปคือยาปฏิชีวนะ isoniazid (INH) ร่วมกับยาอื่น ๆ อีก 3 ชนิด ได้แก่ rifampin, pyrazinamide และ ethambutol ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากเริ่มใช้ยา แต่การรักษาวัณโรคจำเป็นต้องใช้เวลานานกว่าการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาต่อเนื่องไปตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด มิฉะนั้นผู้ป่วยอาจกลับมาป่วยใหม่ได้อีก การต่อสู้กับโรคนี้จะทำได้ยากขึ้น และอาจแพร่ระบาดไปยังผู้อื่น การรับประทานยาไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดอาจส่งผลให้เชื่อวัณโรคดื้อยาได้

เชื้อวัณโรคดื้อยา

วัณโรคดื้อยาหมายความว่ายาบางตัวที่ใช้รักษาวัณโรคในระยะแรกจะไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อวัณโรคในร่างกายของผู้ป่วยได้อีกต่อไป วัณโรคที่ดื้อยาอาจดื้อยามากกว่า 1 ชนิดเรียกว่าเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR TB) ซึ่งเป็นอันตรายมาก การรักษาวัณโรคประเภทนี้จะใช้เวลานานกว่าปกติ 20 ถึง 30 เดือนจึงจะหายขาดได้ และผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงมากขึ้น

วัณโรครักษาหายไหม

ผู้ป่วยต้องรับประทานยาให้หมด และรับประทานยาให้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ป่วยหยุดยาเร็วเกินไป ผู้ป่วยอาจกลับมาป่วยอีกครั้ง และอาจแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่นได้ การรับประทานยาอย่างไม่ถูกต้อง จะทำให้เชื้อโรควัณโรคยังมีชีวิตอยู่และอาจดื้อยาได้ ทำให้ผู้ป่วยที่ดูเหมือนว่าอาการดีขึ้นกลับมาป่วยใหม่ และหายได้ยากกว่าเดิม

ในขณะที่กำลังรักษาวัณโรคอยู่ ผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าการรักษานั้นได้ผล ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกัน อาจเกิดผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา ดังนี้ :

●     ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือเบื่ออาหาร

●     การรู้สึกเสียวแปลบหรือชาที่มือหรือเท้า

●     เกิดผื่นคัน หรือรอยช้ำที่ผิวหนัง

●     สายตาเปลี่ยนแปลง หรือมองเห็นภาพเบลอ

●     ผิวหรือตาเหลือง

●     ปัสสาวะมีสีเข้ม

●     อ่อนแรง อ่อนเพลีย มีไข้เป็นเวลา 3 วันขึ้นไป

สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการที่ผิดปกติ ในขณะที่รับประทานยา ไม่ว่าจะเพื่อการรักษา หรือป้องกันโรค ยารักษาวัณโรคอาจเป็นพิษต่อตับ และผลข้างเคียงที่ผู้ป่วยรู้สึกอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสียหายของตับ หากผู้ป่วยเกิดปัญหาเสียวซ่า และมึนงง แพทย์อาจพิจารณาเพิ่มวิตามินบี 6 เสริมให้ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังรับการรักษา นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาเปลี่ยนยารักษาวัณโรคให้ กรณีพบผลข้างเคียงที่ร้ายแรง

เคล็ดลับการรับประทานยารักษาวัณโรค

การรักษาวัณโรคที่สำคัญคือต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ วิธีการที่ช่วยให้ผู้ป่วยจดการรับประทานยารักษาวัณโรคนั้นมีดังนี้

●     ทานยาให้ตรงเวลาทุกวัน

●     เมื่อรับประทานยาในแต่ละวัน ผู้ป่วยควรทำเครื่องหมายเอาไว้บนปฏิทิน

●     ซื้อเครื่องจ่ายยารายสัปดาห์ที่แบ่งเป็นส่วน ๆ สำหรับแต่ละวันในสัปดาห์

●     ขอให้คนใกล้ชิดตรวจสอบให้ทุกวัน เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับประทานยาแล้ว

●     ถามแพทย์ที่ทำการรักษาว่าควรทำอย่างไรหากลืมกินยา

●     การป้องกันการแพร่ระบาดของวัณโรค

หากเป็นวัณโรค ผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการรักษา 2 – 3 สัปดาห์ก่อน ผู้ป่วยจึงจะไม่สามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียวัณโรคไปยังผู้อื่นได้ ผู้ป่วยต้องรอให้แพทย์ที่ทำการรักษาอนุญาตให้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ เพื่อป้องกันตัวเองและผู้อื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ผู้ป่วย:

●     ทานยาให้ตรงตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด

●     ในขณะที่ไอ จามหรือหัวเราะให้ใช้ทิชชู่ปิดปากเอาไว้ นำทิชชู่ใส่ในถุงปิดและโยนทิ้ง

●     ห้ามไปทำงานหรือไปเรียนจนกว่าแพทย์จะอนุญาต

●     หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น หรือนอนร่วมกับผู้อื่น.

●     ระบายอากาศในห้องของผู้ป่วยบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีเชื้อวัณโรคอยู่ในห้อง และแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

●     https://www.webmd.com/lung/understanding-tuberculosis-basics

●     https://www.cdc.gov/tb/topic/basics/default.htm

●     https://www.nhs.uk/conditions/tuberculosis-tb/

About the Author

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may also like these